เรซิ่นใส ความรู้เบื้องต้นก่อนตัดสินใจเลือกใช้เรซิ่น

on

 

คุณสมบัติเรซิ่นใส 02-3794555
เรซิ่นใส

วันนี้เอสเจ มีสรุปคุณสมบัติเรซิ่นใสให้ฟังละเอียดยิบค่ะ ไว้เพื่อตัดสินใจเลือกใช้ให้ตรงกับชิ้นงาน ความเข้าใจในคุณสมบัติเรซิ่น จะทำให้เราเลือกใช้เรซิ่นใสได้มั่นใจค่ะ ในที่นี้ เราจะพูดถึง เรซิ่นชนิดที่มีความใสมากๆเท่านั้นนะคะ

 

1.อีพ็อกซี่เรซิ่น

 

1.1 อีพ็อกซี่เรซิ่นเป็นเรซิ่นที่ไม่มีกลิ่น

1.2 ผสมง่าย อัตราส่วนผสมคือ1ต่อ1 โดยการชั่งน้ำหนัก ( ยกตัวอย่างเช่น ตัวA คืออีพ็อกซี่ 100กรัม ต่อ ตัวB คือฮารด์อีพ็อกซี่ ) 100กรัม ) หมายเหตุที่1 อีพ็อกซี่ตัวA มีความหนาแน่นมาก ที่น้ำหนักเท่ากันจะมีปริมาณน้อยกว่าตัวB

1.3 แห้งช้า ระยะเวลาเซทตัว30นาที แห้งสนิท สัมผัสไม่เป็นรอยนิ้วมือ ที่24 ช.ม.

1.4 ราคาสูง

1.5 ในส่วนงานเคลือบ ได้เนื้องานหนา นูน สวย มีแรงตึงผิวสูง อีพ็อกซี่เหมาะกับงานหยอด หรืองานที่ต้องการให้หยุดที่ขอบ ไม่ไหลหล่นเลอะเทอะ งานแบบนี้เริศมาก….. ขอบอกค่ะ

1.6 งานนำอีพ็อกซี่เรซิ่นชนิดใสไปหล่อ ถ้าเป็นแม่พิมพ์ที่ทำจากยางซิลิโคนชนิดใส งานสวยไว เสร็จเร็ว แห้งแล้วสวยใสปิ๊งทันใดค่ะ ไม่เปลืองแรงขัด

1.7 งานนำอีพ็อกซี่เรซิ่นชนิดใส หล่อในแม่พิมพ์ยางซิลิโคนทึบแสงทั่วไปนั้น ส่วนที่สัมผัสอากาศ จะใส ผิวสวยไม่เหนอะ แต่ส่วนที่ไม่สัมผัสอากาศในแม่พิมพ์ชิ้นงานจะขุ่นๆไม่ใส

1.8 สามารถผสมสีโปร่งแสง หรือผงเรืองแสงได้ ( โปรดศึกษาคุณสมบัติผงเรื่องแสง และการเปล่งแสงในความมืดต่อไปค่ะ )

 

 

 

 

 

2.โพลีเอสเตอร์เรซิ่นหล่อใสพิเศษเบอร์ #sj666 ( เป็นเรซิ่นที่ผ่านการโปรโมทโคบอลท์ ความเข้มข้น 3% มาจากโรงงาน ทำให้มีความเสถียรภาพสูง )

img_3993

2.1 มีกลิ่นฉุนหนักมาก

2.2 ผสมยาก ( อัตราส่วนผสม 100ต่อ2% ) เรซิ่น100กรัม ตัวเร่ง 2กรัม ( ทำให้มีอัตราความเสี่ยงที่ชิ้นงานเรซิ่นจะเหลืองสูง เร่งเยอะก็เหลืองไว แตกร้าวง่าย )

2.3 แห้งไว ระยะเวลาเซทตัว5นาที แกะชิ้นงานได้ในเวลา 1-2ชม. ( แต่ผิวยังเหนอะอยู่ ต้องผ่านขั้นตอนเก็บงาน )

2.4 ราคาถูก

2.5 เคลือบงานได้เนื้องานบาง ไม่เหมาะกับงานเคลือบ

2.6 ทำงานยากกว่าอีพ็อกซี่ งานหล่อใส จากเรซิ่นใสพิเศษนี้ไม่ว่าจะแม่พิมพ์ใส หรือ ทึบทั่วๆไปแล้ว จะได้ชิ้นงานที่ใส แต่ แต่ ผิวจะเหนอะ (( เรื่องผิวนี้ อธิบายได้ดังนี้ค่ะ. เพราะ โคบอลท์ที่ใช้กับงานหล่อใสมีความเข้มข้นเพียง3% จึงทำให้ชิ้นงานแห้งแล้วผิวยังเหนอะหนะ ผิวนี้คือคราบปิโตรเคมีที่เป็นส่วนผสมในการผลิตเรซิ่น )) ต้องน้ำชิ้นงานไปแช่น้ำแฟ๊บหรือน้ำผสมโซดาไฟ แล้วจะเกิดคราบขาว ขัดคราบขาวออกด้วยแปรง หรือ สก๊อตไบรท์ แล้วเข้าขั้นตอนการขัดปัดเงา

 

พูดครบ จบ หมดข้อมูลค่ะ หวังอย่างยิ่งว่าบทความนี้ จะทำให้การตัดสินใจเลือกใช้ชัดเจนขึ้นนะคะ

ทุกเรื่องราวเคมี เรซิ่น สอบถามสั่งซื้อเพิ่มเติม ติดต่อ8โมงเช้า-6โมงเย็น จันทร์-เสาร์ ตามช่องทางเหล่านี้ค่ะ

 

Line@:@resinsj ☎️ : 02-3794555   086-3174747  แฟนเพจ : ://m.me/sj.sinthuphan Web: http://resinsjthailand.com/

 

 

ใส่ความเห็น